วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2559

59แนวทางในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย


แนวทางในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย
1. การค้นคว้าวิจัยควรศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาของไทยในด้านต่างๆ ที่เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น มุ่งศึกษาให้รู้ความเป็นมาในอดีต และสภาพการณ์ในปัจจุบัน
2. การอนุรักษ์ โดยการปลุกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าแก่นสาระและความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ สร้างจิตสำนึกของความเป็นคนท้องถิ่นนั้นๆ ที่จะต้องร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น รวมทั้งสนับสนุนให้มีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหรือพิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้น เพื่อแสดงสภาพชีวิตและความเป็นมาของชุมชน อันจะสร้างความรู้และความภูมิใจในชุมชนท้องถิ่นด้วย
3. การฟื้นฟู โดยการเลือกสรรภูมิปัญญาที่กำลังสูญหาย หรือที่สูญหายไปแล้วมาทำให้มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในท้องถิ่น โดยเฉพาะพื้นฐานทางจริยธรรม คุณธรรม และค่านิยม
4. การพัฒนา ควรริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงภูมิปัญญาให้เหมาะสมกับยุคสมัยและเกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยใช้ภูมิปัญญาเป็นพื้นฐานในการรวมกลุ่มการพัฒนาอาชีพควรนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อต่อยอดใช้ในการผลิต การตลาด และการบริหาร ตลอดจนการป้องกันและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
5. การถ่ายทอด ถ่ายทอดให้คนในสังคมได้รับรู้ เกิดความเข้าใจ ตระหนักในคุณค่า คุณประโยชน์และปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม โดยผ่านสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ  
6. ส่งเสริมกิจกรรม โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการสืบสานและพัฒนาภูมิปัญญาของชุมชนต่างๆ เพื่อจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
7. การเผยแพร่แลกเปลี่ยน โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาและวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง ด้วยสื่อและวิธีการต่างๆ อย่างกว้างขวาง รวมทั้งกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
8. การเสริมสร้างปราชญ์ท้องถิ่น โดยการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของชาวบ้าน ผู้ดำเนินงานให้มีโอกาสแสดงศักยภาพด้านภูมิปัญญา ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ มีการยกย่องประกาศเกียรติคุณในลักษณะต่างๆ

วิธีการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย
1. การนิยมในสินค้าไทย อุดหนุนสินค้าที่ผลิตจากภูมิปัญญาไทย
2. การเข้าร่วมในวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นภูมิปัญญาไทยทุกครั้ง
           3. การรวมกลุ่มเพื่อร่วมอนุรักษ์ภูมิปัญญาในด้านต่างๆ ตามความสนใจ ความสามารถของตนเอง นำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต

57การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยสมัยรัตนโกสินทร์



การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยสมัยรัตนโกสินทร์
ในสมัยรัตนโกสินทร์นี้มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมที่โดดเด่นเกิดขึ้นมากมาย ที่สำคัญยังเป็นยุคสมัยแห่งการปฏิรูปทางการเมืองครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ชนชาติไทยเมื่อระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ถูกแทนที่ด้วยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญในการปฏิวัติสยาม ปีพ.ศ. 2475 ด้วย
การสร้างสรรค์ผลงานด้านภูมิปัญญาในสมัยรัตนโกสินทร์มีตัวอย่างพอสังเขป ดังนี้    
1. การสร้างราชธานีโดยคำนึงถึงความได้เปรียบทางด้านยุทธศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากทรงเล็งเห็นว่ากรุงธนบุรีเป็นเมืองอกแตกที่มีแม่น้ำผ่ากลาง ทำให้ยากแก่การป้องกันรักษาพระนครเวลาข้าศึกบุก ในขณะที่ทางฝั่งตะวันออกเป็นทำเลที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมเพราะเป็นที่หัวแหลม ถ้าสร้างเมืองแต่เพียงฟากเดียว
จะได้แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นคูเมืองทั้งด้านตะวันตกและด้านใต้ เพียงแค่ทำการขุดคลองอีก 2 ด้านก็จะได้คูเมืองทั้ง 4 ทิศ นับเป็นกำแพงเมืองธรรมชาติสำหรับตั้งรับข้าศึกศัตรูในภาวะสงครามได้เป็นอย่างดี
2. การพัฒนาองค์ความรู้ด้านการแพทย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธารามหรือวัดโพธิ์ขึ้นเป็นอารามหลวงโดยให้ชื่อว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม” และโปรดเกล้าฯให้รวบรวมจารึกตำรายา ท่าฤาษีดัดตนและตำรับการนวดแผนโบราณไว้ตามศาลาราย ส่งผลให้วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามได้รับการขนานนามให้เป็นสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิสังขรณ์วันพระเชตุพนวิมลมังคลารามอีกครั้งในรัชสมัยของพระองค์ นอกจากนี้ยังทรงอนุญาตให้มิชชั่นนารีจากสหรัฐอเมริกา ภายใต้การนำของนายแพทย์แดน บีช แบรดลีย์ หรือที่คนไทยเรียกว่าหมอบรัดเลย์ นำการแพทย์แบบตะวันตกเข้ามาเผยแพร่
ซึ่งหมอบรัดเลย์ได้ทำการผ่าตัดแผนใหม่และปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษสำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราชได้โปรดเกล้าฯจัดตั้งโรงพยาบาลศิริราชขึ้นเพื่อทำการบำบัดรักษาผู้ป่วยไข้ โดยมีทั้งแพทย์แผนโบราณของไทยและแพทย์ฝรั่งร่วมทำการรักษาด้วย
3. การสร้างพระที่นั่งในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงระดมช่างฝีมือซึ่งหลงเหลืออยู่ในเวลานั้นมาสร้างพระราชวังใหม่ที่ยิ่งใหญ่เพื่อเป็นศูนย์กลางราชธานีโดยให้เป็นไปตามแบบของกรุงศรีอยุธยายุครุ่งเรือง อีกทั้งยังมีพระราชดำริให้สร้างพระอารามในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งได้แก่ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต อันเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทยด้วย
4. ความเฟื่องฟูทางวรรณกรรมและศิลปกรรม รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคทองของศิลปะรัตนโกสินทร์ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเป็นกษัตริย์ผู้ทรงใฝ่พระทัยในงานศิลปะ ทั้งทางด้านวิจิตรศิลป์และวรรณคดี  นอกจากพระองค์จะทรงสร้างและบูรณะวัดวาอารามจำนวนมากแล้ว ยังทรงพระอัจฉริยภาพในทางกวี โดยเฉพาะการแต่งบทละครทั้งละครในและละครนอก พระราชนิพนธ์ชิ้นสำคัญของพระองค์ ได้แก่ บทละครเรื่องอิเหนาและรามเกียรติ์ ซึ่งทรงนำมาแต่งใหม่เพื่อให้ใช้ในการแสดงได้ นอกจากจะทรงพระราชนิพนธ์ด้วยพระองค์เองแล้ว ยังได้ชื่อว่าเป็นองค์อุปถัมภ์บรรดาศิลปินและกวีด้วย ยุคนี้จึงเรียกได้ว่าเป็นยุคสมัยที่กวีนิพนธ์เจริญรุ่งเรืองสูงสุด สำหรับกวีเอกคนสำคัญในรัชกาลของพระองค์ก็คือพระศรีสุนทรโวหาร (ภู่) หรือที่คนไทยทั่วไปเรียกว่าสุนทรภู่  
5. การปฏิรูปการเมืองการปกครองแผ่นดิน รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราชถือเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในประเทศไทย เนื่องจากพระองค์ได้ทรงปฏิรูปสังคมขนานใหญ่ ตั้งแต่ทรงยกเลิกระบบทาสและการเกณฑ์แรงงานไพร่ และหันมาใช้ระบบการเก็บภาษีรัชชูปการแทน นอกจากนี้ยังทรงปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคด้วยการยกเลิกระบบหัวเมืองแบบเก่า อันได้แก่ หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอกและเมืองประเทศราช โดยเปลี่ยนเป็นการจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลแทน ระบบมณฑลเทศาภิบาลดังกล่าวส่งผลให้สยามกลายเป็นรัฐชาติที่มีเขตแดนชัดเจนแน่นอน และมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนนับแต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

58ปัจจัยที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทย



ปัจจัยที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทย
1x42.gif
ปัจจัยที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทย สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ภูมิปัญญาไทยจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศเป็นอย่างมาก ประเทศไทยมีสภาพทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันอย่างหลากหลาย ทำให้มีการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาที่แตกต่างกัน
  บริเวณภาคกลางของประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำคลองหลายสาย บางพื้นที่มีน้ำท่วมในฤดูฝน ทำให้มีการแก้ปัญหาด้วยการสร้างบ้านเรือนที่ยกพื้นสูงขึ้น เพื่อป้องกันน้ำท่วม ส่วนผู้ที่อาศัยอยู่ริมน้ำก็จะสร้างเรือนแพ หรือต่อเรือไว้เป็นพาหนะในการเดินทาง
   บริเวณทางภาคเหนือเป็นเทือกเขา มีที่ราบระหว่างหุบเขาที่แม่น้ำไหลผ่าน ทำให้เกิดภูมิปัญญาในการสร้างฝาย เพื่อกักเก็บน้ำที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ราบ มีการปลูกพืชตามไหล่เขาแบบขั้นบันได ซึ่งทำให้สามารถรักษาหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ไว้ได้ในขณะที่มีฝนตก นับว่าเป็นการรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฉลาดและคุ้มค่า เพราะสามารถใช้ที่ดินได้ทุกพื้นที่ ไม่เพียงแต่ที่ราบเท่านั้น

2. หลักคำสอนพระพุทธศาสนา คนไทยมีความเชื่อดั้งเดิมในเรื่องของการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ เช่น ผีบ้านผีเรือน ผีฟ้า เจ้าป่า เจ้าเขา เจ้าที่ เจ้าทาง เทวดา แม่โพสพ แม่คงคา พระภูมิ ต้นไม้ใหญ่ๆ เช่น ต้นโพธิ์ ต้นไทร เป็นต้น
ซึ่งเชื่อว่ามีเทวดาหรือนางไม้พักอาศัยอยู่ ถ้าใครไปตัดต้นไม้ใหญ่ หรือทำสกปรกรอบๆบริเวณนั้น อาจถูกลงโทษถึงแก่ชีวิตได้ นับได้ว่าเป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติโดยทางอ้อมอย่างหนึ่ง
การเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์ ที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ ชาดก สวรรค์ นรก เป็นต้น การสร้างประติมากรรม เช่น พระพุทธรูป การสร้างสถาปัตยกรรม เช่น โบสถ์ เจดีย์ตามยุคสมัยต่าง ๆ การแสดงออกของศิลปิน เช่น การแต่งคำประพันธ์ บทเพลง การแสดงละคร ลิเก ลำตัด



3. อิทธิพลภายนอก ความรู้ด้านวิชาการ วัฒนธรรมและรูปแบบของการดำเนินชีวิตจากภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก หลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว ทำให้มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เกิดจากภูมิปัญญาไทยให้เหมาะสมกับยุคสมัย เช่น
การใช้เครื่องทุ่นแรงมาใช้ในการเกษตร เช่น การใช้รถไถแทนการใช้ความไถนา การใช้เครื่องมือนวดข้าวแทนการนวดด้วยมือ การใช้เครื่องแยกเมล็ดฝ้ายแทนการแยกด้วยมือ การนำเครื่องยนต์มาติดตั้งกับพาหนะ เช่น การใช้เรือยนต์แทนเรือพาย การใช้รถสามล้อเครื่องแทนรถสามล้อถีบ การใช้เครื่องไฟฟ้าเข้ามาประกอบอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ
เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวัน ได้แก่ การใช้กระเช้าไฟฟ้ารับส่งคนและของขึ้นลงในที่สูง การแปรรูปผลิตภัณฑ์ เช่น ฟ้าทะลายโจรอัดใส่แคปซูลใช้รักษาโรคได้  ยาสระผมว่านห่างจระเข้ผสมดอกอัญชัย ครีมนวดผมที่ทำจากประดำดีควาย สบู่สมุนไพร เครื่องดื่มที่ทำจากสมุนไพร เป็นต้น

56.การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย



การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย
1x42.gif

การสร้างสรรค์ผลงานด้านภูมิปัญญาในสมัยสุโขทัยมีตัวอย่างพอสังเขป ดังนี้    
1. การใช้หลักธรรมและคติความเชื่อทางพุทธศาสนาควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคม             
การปลูกฝังนิสัยของคนไทยในสมัยสุโขทัยให้มีศีลธรรมเพื่อความสงบสุขของสังคมส่วนรวมอาศัยประโยชน์จากการประยุกต์หลักคำสอนในพุทธศาสนา เช่น การนำเรื่องราวในหนังสือไตรภูมิพระร่วงซึ่งเป็นวรรณกรรมปรัชญาชิ้นแรกของไทยที่พระราชนิพนธ์โดยพระมหาธรรมราชาที่ 1 หรือพระยาลิไทมาสอนจริยธรรมให้คนทำดีและเกรงกลัวต่อบาป
2. การประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นมาใช้เป็นแบบฉบับของตนเอง อักษรไทยที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชในปีพ.ศ. 1826 ที่เรียกว่า “ลายสือไทย” เป็นภูมิปัญญาการเขียนอักษรไทยเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัด อักษรหราหมีและอักษรคฤนห์ นอกจากนี้พ่อขุนรามคำแหงมหาราชยังได้ใช้ลายสือไทยบันทึกเรื่องราวพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระองค์ ตลอดจนการเมืองการปกครอง สภาพบ้านเมืองและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนสมัยนั้นในศิลาจารึกหลักที่ 1 อีกด้วย
3. การสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านประติมากรรมและสถาปัตยกรรม ในสมัยนี้เริ่มมีการนำศิลาแลงมาสร้างอาคารสถานที่ต่างๆ เช่นที่พบเห็นในกำแพงเมืองชั้นในของเมืองศรีสัชนาลัย
นอกจากนี้ยังค้นพบการผสมตะกั่วลงไปในสำริดเพื่อทำให้โลหะหลอมได้ง่ายขึ้น และทำให้วัตถุที่หล่อมีคุณภาพเพียงพอสำหรับทำภาชนะ เครื่องประดับและเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีรูปร่างซับซ้อนได้ ยกเว้นประติมากรรมพระพุทธรูปสำริด ซึ่งไม่นิยมผสมตะกั่วลงไปเพราะต้องการสร้างให้แข็งแกร่งทนทาน
4. การแก้ไขปัญหาที่เกิดจากสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ชาวสุโขทัยได้ใช้ภูมิปัญญาในการแก้ไขข้อจำกัดทางธรรมชาติและสภาพภูมิประเทศด้วยการสร้างระบบชลประทาน โดยมีการชักน้ำจากที่สูงทางด้านตะวันตกของสุโขทัยด้วยการสร้างแนวคันดินเพื่อทำหน้าที่บังคับทิศทางของน้ำให้ไหลจากหุบเขามาสู่คูเมืองและสระน้ำในเมือง แนวคันดินสำหรับเบี่ยงเบนทิศทางของน้ำนี้เรียกว่า “ทำนบพระร่วง” หรือที่นักวิชาการหลายท่านเรียกชื่อว่า “สรีดภงส์”
ตามชื่อที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 นอกจากนี้ยังมีการสร้าง “ตระพัง” หรือสระสำหรับเก็บน้ำ น้ำที่ถูกชักไปตามคลองส่งน้ำและลำเลียงไปสู่กำแพงเมืองเก่าจะไหลเข้าสู่สระตระพังเงินสระตระพังทองเพื่อใช้สอยในเมืองและพระราชวังในสมัยสุโขทัย
5. การเคลือบเครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัย ในสมัยสุโขทัยมีการปั้นภาชนะด้วยดินเหนียวหรือดินขาว ก่อนนำไปเผาในเตาอุณหภูมิสูงและเคลือบให้สวยงาม ซึ่งเรียกว่า “เครื่องสังคโลก”
สีของเครื่องเคลือบมักเป็นสีเขียวไข่กามีสีน้ำตาลบ้างประปราย หลักฐานเตาเผาที่ถูกค้นพบเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าในสมัยสุโขทัยได้มีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาเป็นอุตสาหกรรมเพื่อประโยชน์ใช้สอย และเพื่อค้าขายในชุมชนและหัวเมืองใกล้เคียงด้วย การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยา    


การสร้างสรรค์ผลงานด้านภูมิปัญญา ในสมัยอยุธยา มีตัวอย่างพอสังเขป ดังนี้
1. การสร้างสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เป็นศูนย์รวมอำนาจ การที่อยุธยาติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติทำให้มีโอกาสได้เรียนรู้ภูมิปัญญาของชนชาติอื่น และนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับคนในสมัยนั้น อยุธยาได้นำรูปแบบการปกครองแบบเทวราชาที่เชื่อว่ากษัตริย์คือสมมุติเทพหรือเทพเจ้าจุติลงมาปกครองประชาชนมาจากเขมรซึ่งรับต่อมาจากอินเดีย การปกครองแบบนี้จะให้ความสำคัญและอำนาจในการปกครองบ้านเมืองกับกษัตริย์อย่างมาก
2. การแต่งแบบเรียนสำหรับคนไทย พระโหราธิบดีในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแต่งหนังสือจินดามณีให้ชาวอยุธยาใช้ในการศึกษาภาษาไทยเพื่อให้อ่านออกเขียนได้ จินดามณีถือเป็นหนังสือแบบเรียนสำหรับคนไทยเล่มแรกในประวัติศาสตร์
3. การพัฒนาองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย บรรดาหมอหลวงในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ร่วมกันรวบรวมตำรับยาต่างๆทั้งไทยและเทศขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติการแพทย์ไทยซึ่งเรียกว่า “ตำราพระโอสถพระนารายณ์” ซึ่งตำราเหล่านี้ยังตกทอดมาถึงทุกวันนี้
4. ความเฟื่องฟูทางศิลปกรรมแขนงต่างๆ ในสมัยอยุธยามีการสร้างสรรค์งานศิลปะในหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรมหรือประณีตศิลป์ ตัวอย่างศิลปะยุคนี้ ได้แก่ พระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง จิตรกรรมฝาผนังโบสถ์และวิหาร งานเครื่องไม้จำหลัก งานปูนปั้น การทำลายรดน้ำ งานประดับมุก รวมไปถึงงานเขียนลวดลายเครื่องเบญจรงค์

การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยสมัยธนบุรี

สมัยธนบุรีเป็นช่วงเวลาสั้นเพียง 15 ปีเท่านั้น ศิลปกรรมต่างๆที่สร้างขึ้นคงเป็นไปตามแบบอย่างของอยุธยา จึงผนวกรวมเข้าไว้ในศิลปวิทยาการสมัยอยุธยา

55ภูมิปัญญาไทย



ภูมิปัญญาไทย
1x42.gif
ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถ วิธีการ ผลงานที่คนไทยได้ศึกษา เก็บรวบรวมความรู้ และจัดเป็นองค์ความรู้ ปรับปรุง พัฒนา ถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จนเกิดผลดีงาม มีคุณค่า มีประโยชน์ นำไปแก้ปัญหาและพัฒนาชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย
ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาพื้นบ้าน หมายถึง สิ่งที่แสดงความรู้ ความคิด และการกระทำของบรรพบุรุษของเรา เพื่อที่จะดำรงชีวิตรอดอย่างมีความสุข
ภูมิปัญญาไทยสามารถแบ่งได้เป็น 10 สาขา ดังนี้
  1. สาขาเกษตร
  2. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม
  3. สาขาแพทย์แผนไทย
  4. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  5. สาขาภาษาและวรรณกรรม
  6. สาขาศิลปกรรม
  7. ศาสนาและประเพณี
  8. สาขาการจัดการองค์กร
  9. สาขาสวัสดิการ
  10. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน
ลักษณะของภูมิปัญญาไทย มีดังนี้
  1. เป็นเรื่องใช้ความรู้ ทักษะ ความเชื่อ และพฤติกรรม แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ
  2. เป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิต
  3. เป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหา การจัดการ การปรับตัว การเรียนรู้ เพื่อคงวามอยู่รอดของบุคคล ชุมชน และสังคม
  4. ภูมิปัญญา เป็นแกนหลัก หรือกระบวนทัศน์ในการมองชีวิต เป็นพื้นความรู้ในเรื่องต่าง ๆ   มีลักษณะเฉพาะหรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคมตลอดเวลา

ภูมิปัญญาในภาคต่างๆของไทย


ภูมิปัญญาไทยในภาคเหนือ
  มีขันโตก ฟ้อน ซอ บ้านกาแล เครื่องมือดักสัตว์ เครื่องมือทำไร่ทำนา ฟ้อนผี งานแกะสลักไม้ มีการขับซอ แกะสลักช้าง การทำแหนม สืบชะตาขุนน้ำ บวชต้นไม้บวชป่า  การทำไม้
ภูมิปัญญาไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  ด้วยอุปนิสัยขยันขันแข็ง และสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ จิตใจผ่องใสอ่อนโยน และเวลาที่ว่างจากการทำนา จึงคิดสร้าง สรรค์งานศิลป์ในรูปแบบต่างๆ ผ้าไหมลายสวย ผ้าฝ้ายทอมือที่นับวันจะหายาก ข้าวของเครื่องใช้ เครื่องจักสาน และเครื่องปั้นดินเผา
ภูมิปัญญาไทยในภาคกลาง
  การสู่ขวัญข้าว ภูมิปัญญาในการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนและชุมชน เช่นการสร้างบ้านทรงไทย ภูมิปัญญาในการปรับตัวและหลอมรวมร่วมกันระหว่างคนหลายชาติพันธุ์ เช่น งานวันไหล เป็นต้น
ภูมิปัญญาแสดงออกมาทางประเพณี เช่น ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง ประเพณีตักบาตรดอกไม้ ประเพณีวิ่งควาย ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีบุญกลางบ้าน ประเพณีวันไหล และประเพณีกวนข้าวทิพย์ เกี่ยวกับการละเล่นก็มีมากมาย เช่น การแสดงโขน ลำตัด มอญซ่อนผ้า งูกินหาง การแข่งว่าวปักเป้าและจุฬา
ภูมิปัญญาไทยในภาคตะวันออก
   ประเพณีเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น การทำบุญกองข้าว การแข่งขันวิ่งควาย ประเพณีเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา เช่น ประเพณีแห่หลวงพ่อโสธร
ภูมิปัญญาไทยในภาคตะวันตก
  ประชาชนประกอบอาชีพในการทำไร่เป็นส่วนใหญ่ รวมถึงเลี้ยงโคนม โคเนื้อตามที่ราบเชิงเขา มีการประกอบอาชีพบริการการท่องเที่ยว
ภูมิปัญญาไทยในภาคใต้
  เครื่องตักน้ำ, ยาสมุนไพรซาไก, การรักษากระดูก, เรือกอและ,บอกหนมจีน, เหล็กไฟตบ, พิธีไหว้แม่ย่านางเรือ,ภูมิปัญญาในด้านการแสดง เช่น โนราห์ หนังตะลุง การแสดงชาวมุสลิม

54การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย



การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
1x42.gif
การอนุรักษ์วัฒธรรมไทยนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือกันของคนไทยทุกคนมีวิธีการ ดังนี้
1. ศึกษา ค้นคว้า และการวิจัยวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมท้องถิ่น ทั้งที่มีการรวบรวมไว้แล้วและยังไม่ได้ศึกษา เพื่อทราบความหมาย และความสำคัญของวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นมรดกของไทยอย่างถ่องแท้ ซึ่งความรู้ดังกล่าวถือเป็นรากฐานของการดำเนินชีวิต เพื่อให้เห็นคุณค่า ทำให้เกิดการยอมรับ และนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ต่อไป
2. ส่งเสริมให้ทุกคนเห็นคุณค่า ร่วมกันรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติและของท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้าใจและมั่นใจแก่ประชาชนในการปรับเปลี่ยนและตอบสนองกระแสวัฒนธรรมอื่นๆ อย่างเหมาะสม
3. รณรงค์ให้ประชาชนและภาคเอกชน ตระหนักในความสำคัญ ของวัฒนธรรมว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้การรับผิดชอบร่วมกันในการส่งเสริมสนับสนุน ประสานงานการบริการความรู้ วิชาการ และทุนทรัพย์สำหรับจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม
4. ส่งเสริมและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยการใช้ศิลปะวัฒนธรรมที่เป็นสื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน
5. สร้างทัศนคติ ความรู้ และความเข้าใจว่าทุกคนมีหน้าที่เสริมสร้าง ฟื้นฟู และการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมที่เป็นสมบัติของชาติ และมีผลโดยตรงของความเป็นอยู่ของทุกคน
6. จัดทำระบบเครื่อข่ายสารสนเทศทางด้านวัฒนธรรมเพื่อเป็นศูนย์กลางเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานเพื่อให้ประชาชนเข้าใจ สามารถเลือกสรร ตัดสินใจและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตทั้งนี้สื่อมวลชนควรมีบทบาทในการส่งเสริม และสนับสนุนงานด้านวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้นด้วย
7.การเสริมสร้างปราชญ์ท้องถิ่น โดยการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของชาวบ้าน ผู้ดำเนินงานให้มีโอกาสแสดงศักยภาพด้านภูมิปัญญา ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ มีการยกย่องประกาศเกียรติคุณในลักษณะต่างๆ
8.การถ่ายทอด โดยการนำภูมิปัญญาที่ผ่านมาเลือกสรรกลั่นกรองด้วยเหตุและผลอย่างรอบคอบและรอบด้าน แล้วไปถ่ายทอดให้คนในสังคมได้รับรู้ เกิดความเข้าใจ ตระหนักในคุณค่า คุณประโยชน์และปฎิบัติได้อย่างเหมาะสม โดยผ่านสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ

53.วิถีการดำเนินชีวิตในสมัยสุโขทัย



วิถีการดำเนินชีวิตในสมัยสุโขทัย
1x42.gif
1. ด้านการเมืองการปกครอง ในช่วงแรกผู้ปกครองสุโขทัยมีความไกล้ชิดกับประชาชน เหมือนพ่อปกครองลูก สำหรับการปกครองแบบพ่อกับบกับนี้ ประชาชนจะนับถือพระเจ้าแผ่นดินเหมือนเป็นอย่างบิดา พ่อปกครองครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมกันเป็นบ้านอยู่ในปกครองของพ่อบ้าน ผู้อยู่ในปกครอง เรียกว่า ลูกบ้าน หลายบ้านรวมกันเป็นเมืองถ้าเป็นเมืองขึ้นอยู่ในความปกครองของพ่อเมือง ถ้าเป็นประเทศราชเจ้าเมืองเป็นขุนหลายเมืองรวมกันเป็นประเทศที่อยู่ในความปกครองของพ่อขุน ข้าราชการในตำแหน่งต่าง ๆ เรียกว่าลูกขุน
2. ด้านเศรษฐกิจ ชาวบ้านประชาชน มีอิสระภาพในการประกอบอาชีพ ในด้านต่างๆ เช่น การทำเกษตรกรรม ค้าขาย มีการใช้เงินพดด้วงและเบี้ยในการแลกเปลี่ยนกัน
3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม สังคมในสมัยนั้นมีขนาดไม่ใหญ่มาก เนื่องจากประชากรมีจำนวนน้อย ชนชั้นต่างๆแบ่งออกเป็น ชนชั้นปกครองได้แก่ พระมหากษัตริย์ ขุนนาง และผู้ถูกปกครอง คือ ราษฎร ทาส และพระสงฆ์ ชาวสุโขทัยนั้นมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้มีการสร้างวัดวาอาราม พระพุทธรูปจำนวนมาก มีการแต่งวรรณกรรมด้วย คือ ไตรภูมิพระร่วง นั่นเอง  ศาสนาเป็นสถาบันที่สำคัญในสังคมเพราะประชาชนหันเข้าหาศาสนาเพื่อแก้ปัญหาทุก ขณะเดียวกันตัวแทนของศาสนาคือพระ

วิถีการดำเนินชีวิตในสมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
1. ด้านการเมืองการปกครอง
   ในสมัยอยุธยาได้รับคติการปกครองแบบสมมติเทพมาจากเขมรที่ผู้ปกครองเปรียบดังเทพเจ้า จึงมีข้อปฏิบัติตามกฎมณเฑียรบาลที่ทำให้ผู้ปกครองมีความแตกต่างจากประชาชน เช่น การใช้ราชาศัพท์ การมีพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นต้น ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับราษฎรจึงห่างเหินกัน
2. ด้านเศรษฐกิจ
   เป็นระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองและยังชีพอยู่ได้ ราษฎรสามารถผลิตสิ่งของที่จำเป็นในชีวิตประจำวันใช้เองในครัวเรือน ผูกขาดโดยพระคลังสินค้า สินค้าของตะวันตกส่วนใหญ่ขายได้เฉพาะสินค้าบางประเภท เช่น อาวุธปืน กระสุนปืน และสินค้าฟุ่มเฟือยที่ใช้ในราชสำนักหรือสำหรับกลุ่มที่มี การจัดระบบภาษีอาการและระบบเงินตรา
3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม
   สังคมไทยสมัยอยุธยาได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมประเพณีจากเขมร อินเดีย มอญ จีน ญี่ปุ่น เปอร์เซีย อาหรับ ยุโรป เช่น การกำหนดชนชั้นของคนในสังคม กฎหมาย ประเพณี พระราชพิธีและธรรมเนียมในราชสำนัก วิถีการดำเนินชีวิตต่าง ๆ เช่น การดื่มชา การใช้เครื่องถ้วยชาม เครื่องเคลือบ การปรุงอาหาร และขนมหวาน ประชาชนมีประเพณีในชีวิตประจำวันที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เช่น การเกิด การอุปสมบท การแต่งงาน การตาย และประเพณีเกี่ยวกับสังคม

วิถีการดำเนินชีวิตในสมัยการปฎิรูปประเทศ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475
1.ด้านการเมืองการปกครอง
   ในรัชกาลที่ 4 ประเทศไทยได้ถูกคุกคามจากภัยการล่าอาณานิคมของจักรวรรดิตะวันตก ทำให้พระมหากษัตริย์ไทยต้องดำเนินนโยบายทางด้านการต่างประเทศอย่างรอบคอบ รัชกาลที่ 5 ทรงแก้ไขปัญหาโดยใช้นโยบายการผ่อนหนักเป็นเบา
2.ด้านเศรษฐกิจ
   ในรัชกาลที่ 4 ไทยได้มีการทำสัญญาเบาว์ริงกับประเทศอังกฤษโดยไทยเสียเปรียบอย่างมากแต่ต้องยอม เนื่องจากเกรงอิทธิพลของอังกฤษ ทำให้เศรษฐกิจเป็นระบบการค้า มีการเปลี่ยนแปลงสกุลเงินจากพดด้วงมาเป็นเหรียญกษาปณ์และธนบัตร ลดการเก็บภาษาจากร้อยละ 10เหลือ ร้อยละ 3
3.ด้านสังคมวัฒนธรรม
   ในรัชกาลที่ 4 อนุญาตให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์แรงงานเข้ารับราชการ ให้เสรีภาพแก่สตรีที่บรรลุนิติภาวะในการเลือกคู่ครองโดยพ่อแม่จะบังคับไม่ได้ ห้ามพ่อแม่ขายบุตรเป็นทาส ห้ามสามีขายภรรยาเป็นทาสโดยเจ้าตัวไม่สมัครใจ . ประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า โปรดให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นเพื่อเป็นของที่พระมหากษัตริย์พระราชทาน เป็นบำเหน็จรางวัลแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการไทย และชาวต่างประเทศ ทรงเปลี่ยนแปลงพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา โดยพระองค์ทรงร่วมเสวยด้วย
สมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ถึงปัจจุบัน
1.ด้านการเมืองการปกครอง
   มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2475
2.ด้านเศรษฐกิจ
  เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติครั้งแรก มุ่งเน้นการส่งออกสินค้าเป็นสำคัญ
3.ด้านสังคมวัฒนธรรม
  ไทยประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นจำนวน 18 ฉบับ วัฒนธรรมส่วนใหญ่รับแบบอย่างมาจากประเทศตะวันตก

52สภาพแวดล้อม ที่มีผลต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทย





1x42.gif
1. ลักษณะของภูมิประเทศ การสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยจะขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคโดยในภาคเหนือและภาคตะวันตก ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง ประชาชนก็มีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับที่สูง เช่น การสร้างบ้านเรือนอยู่บนที่สูง ประกอบอาชีพบนที่สูง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นที่ราบสูงจะเป็นวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับที่ราบสูง เช่น การปลูกพืชไร่ที่ใช้น้ำน้อย การเลือกทำเลในการสร้างชุมชนบนโคกใกล้แหล่งน้ำ ส่วนภาคกลางที่เป็นเขตราบลุ่มแม่น้ำ วัฒนธรรมของประชาขนก็จะสัมพันธ์กับพื้นที่ราบลุ่ม เช่น การแข่งเรือ การทำนา การประมงน้ำจืด ส่วนพื้นที่ในเขตภาคใต้ที่เป็นสันเขาบริเวณตอนกลางของภาคแล้วลาดเอียงไปทางทิศตะวันตกและทิศตะวันออกเป็นชายฝั่งทะเลที่ยาว วัฒนธรรมของประชาชนก็จะสัมพันธ์กับทะเล เช่น การประมงทะเล การมีภาษาพูดที่เร็ว
2. ลักษณะของภูมิอากาศ วัฒนธรรมของไทยจะมีความสัมพันธ์กับลักษณะของภูมิอากาศเป็นอย่างยิ่ง เช่น ในพื้นที่ที่มีลักษณะอากาศที่หนาวเย็น ในภาคเหนือของไทย ประชาชนก็มีการสวมใส่เครื่องนุ่งห่มที่หนาเพื่อป้องกันอากาศหนาว รับประทานอาหารที่มีไขมัน การสร้างบ้านเรือนที่มีประตูหน้าต่างมิดชิดเพื่อป้องกันอากาศหนาว ส่วนในเขตที่มีอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง เช่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ภาคกลางและภาคตะวันออกของไทย ประชาชนก็จะมีวัฒนธรรมเกี่ยวกับการปรับตัวให้เหมาะสม เช่น การเป็นผู้ที่มีความอดทนต่อความลำบาก การใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า มีประเพณีบุญบั้งไฟ การแห่นางแมวเพื่อขอฝน การสร้างบานเรือนทรงสูงเพื่อให้สามารถระบายอากาศได้ดี ในภาคใต้ที่มีฤดูฝนที่ยาวนานถึง 8 เดือน ในรอบ 1 ปี ประชาชนก็จะมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เช่น การสร้างบ้านชั้นเดียวที่มีหลังคาทรงสูง มีความลาดเอียงเพื่อให้สามารถระบายน้ำฝนได้ดี การประกอบอาชีพทำสวนยาง
3. ความศรัทธาในหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน ประชาชนส่วนใหญ่ของไทยนับถือศาสนาพุทธ ดังนั้นคนไทยจึงยึดมั่นในคำสอนของพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง การสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมด้านต่างๆของไทย จึงมีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น
การสืบทอดและการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม
    คุณค่าของภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยดังกล่าวมาแล้ว เปรียบเสมือนสายใยของความผูกพันที่ส่งต่อจากบรรพบุรุษมายังคนรุ่นหลัง แต่ความผูกพันที่แสดงถึงความเป็นไทยนี้กำลังจะถูกลบเลือนไปในกระแสโลกาภิวัตน์ สุนทรียภาพอันเกิดจากภาษาดัดแปลงไปจากเดิมอย่างน่าวิตกไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือเขียน เช่น เวลาพูดใช้ภาษาไทยคำภาษาต่างชาติคำ หรือการตัดพยางค์เพื่อให้คำสั้นลง ความไพเราะเพราะพริ้งของดนตรีของไทยถูกแทนที่ด้วยบทเพลงและเครื่องดนตรีสมัยใหม่ วัฒนธรรมที่ดีงามถูกครอบงำจากธุรกิจทุนนิยมภายใต้ชื่อใหม่ว่า การส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย ความเอื้ออาทร ความห่วงใย และความปรารถนาดีที่จะให้ผู้อื่นมีความสุข
   ด้วยเหตุนี้ การสืบทอดภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยเพื่อธำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการ สำหรับวิธีการที่ควรกระทำคือ
1. ปลูกฝังและถ่ายทอดภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะในเด็กและเยาวชนเพื่อให้ตระหนักในคุณค่าของภูมิปัญญาไทย เช่น เพลงไทยเดิม การละเล่น การดนตรี เป็นต้น
2.  รณรงค์เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกให้แก่คนไทยได้ปฏิบัติตามวัฒนธรรมไทยอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
3. สนับสนุนและส่งเสริมงานพิพิธภัณฑ์ระดับท้องถิ่น เพื่อการอนุรักษณ์และพัฒนาวัฒนธรรมท้องถิ่น
4. ส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้เข้ามาเป็นสถาบันหลักในการอนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมไทย
5. หลักสูตรของสถานศึกษาในทุกระดับต้องกำหนดให้มีการเรียนการสอนภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยเพื่อแสดงความเป็นไทย
6. ส่งเสริมให้มีการนำภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยเมาประยุกต์กับการตลาดเพื่อการผลิตและการเผยแพร่ให้นานาประเทศได้รู้จักภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยอย่างกว้างขวาง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5



หน่วยการเรียนรู้ที่ 5
1x42.gif
ความมีวินัยในตนเอง
        พลเมืองดีในสังคมประชาธิปไตย จะต้องเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และมีวินัยในตนเอง มีความซื่สัตย์ สุจริต อดทน มีความขยันหมั่นเพียร ในการศึกษาหาความรู้และทำงานด้วยความตั้งใจ
        การปลูกฝังให้พลเมืองไทยมีวินัยในตนเอง เป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นการสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่ิไป
ผลการเรียนรู้
        ปฎิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตนเอง
1x42.gif
เรื่องที่ 1
1x42.gif 
ความมีวินัยในตนเอง
        วินัยสร้างคนให้เป็นคนดี เป็นคนเก่ง คนดีมีวินัยจะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต มีความขยันหมั่นเพียร อดทน ใฝ่เรียนรู้
        ดังนั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องปลูกฝังให้นักเรียนเห็นคุณค่าและฝึกความมีวินัยในตนเอง เพื่อความสุขและความสำเร็จของตนเอง และการเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศต่อไป
1.ความซื่อสัตย์สุจริต
        ความซื่อสัตยืสุจริตเป็นความยึดมั่นในความถูกต้อง ประพฤติปฎิบัติตรงตามควมเป็นจริงต่อตนเองและผู้อื่น ทั้งทางกาย วาจา และใจ ไม่เป็นการกระทำที่หวังผลประโยชน์ ไม่คิดคดโกง หลอกลวง มีความดปร่งใส ตรวจสอบได้ ผู้มีความซื่อสัตยืสุจริตจะได้รับความไว้วางใจจากคนทั่วไป
2.ความขยันหมั่นเพียรและอดทน
        ความขัยนหมั่นเพียร เป็นความตั้งใจในการศึกษาเล่าเรียน การทำงานด้วยความมุ่งมั่น ด้วยความสุจริตอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป มีความเจริญก้าวหน้าในการเรียนและชีวิตการงาน
        การปฎิบัติตนเป็นคนขยันหมั่นเพียรและอดทน
  1. มีการตั้งเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายไว้อย่างชัดเจนทและมีความกระตือรือร้นและตั้งใจทำอย่างไม่ย้อท้อ
  2. ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ เพื่อนำมาเป็นแนวปฎิบัติและพัฒนาตนเอง
  3. นำแบบอย่างของผู้ประสบความสำเร็จมาเป็นแบบอย่าง
  4. ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค
        ผู้ที่มีความขยันหมั่นเพียรและอดทนในการเรียนและการปฎิบัติหน้าที่ จะทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิต เป็นที่ยกย่องชื่นชมของคนรอบข้าง
3.การใฝ่หาความรู้
        การใฝ่หาความรู้ เป็นความตั้งใจเพียรพยายามในการเรียน การพัฒนาตนเอง แสวงหาความรู้และนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น สามารถถ่ายทอด เผยแพร่ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
        การปฎิบัติตนเป็นคนใฝ่หาความรู้
  1. ตั้งใจเพียรพยายามในการเรียนและศึกษาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
  2. เป็นคนช่างสังเกตสิ่งรอบข้างและใส่ใจในสิ่งที่ตัวเองยังไม่รู้และค้นหาคำตอบ
  3. เป็นนักอ่าน นักฟังแล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์เพื่อร้างสรรค์ผลงานตนเอง
  4. นำแบบอย่างของผู้ที่ประสบความสำเร็จมาเป็นแบบอย่าง
  5. การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลอื่นๆ
        การเป็นผู้ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ ทำให้มีความรู้รอบด้าน สามารถนำความรู้มาพัฒนาตนเองและสร้างสรรค์ผลงานเป็นที่ยอมรับและประสบความสำเร็จ
1x42.gif
เรื่องที่ 2
1x42.gif
ความมีวินัยในหน้าที่
        การปลูกฝังความมีวินัยในหน้าที่ เพื่อให้นักเรียนมีความตั้งใจและรับผิดชอบในการเรียน การทำงาน ด้วยความเพียรพยายาม อดทน เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ และมีความรับผิดชอบในการกระทำของตน และเพื่อการอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
1.ตั้งใจปฎิบัติหน้าที่
        การตั้งใจปฎิบัติหน้าที่ เป็นความมุ่งมั่นในการเรียน และการปฎิบัติหน้าที่ด้วยความเพียร พยายาม ความเอาใจใส่ ทุ่มเท ทั้งกำลังกาย กำลังใจ
ใช้สติปัญญาความรู้ความสามารถและมีคุณธรรมจริยธรรม เพื่อให้งานที่รับผิดชอบสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่กำหนด งานมีคุณภาพและสร้างความภาคภูมิใจในผลงาน
2.ยอมรับผลที่เกิดจากการกระทำของตนเอง
        การยอมรับผลจากการกระทำของตนเอง เป็นการแสดงความรับผิดชอบจากการกระทำของตนเอง โดยไม่โยนความรับผิดชอบไปให้ผู้อื่น ไม่ว่างานที่ทำไปจะบรรลุตามเป้าหมายหรือไม่ เพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบและนำมาปรับปรุงแก้ไขงานนั้นให้ดีขึ้นกว่าเดิม
        การปฎิบัติตนยอมรับผลของการกระทำของตนเอง
  1. กล่าวคำขอโทษ แสดงความรับผิดชอบจากการกระทำของตนเอง
  2. ปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาดและเป็นข้อคิดในการทำงานครั้งต่อไป
  3. ผู้เป็นหัวหน้าจะแสดงความรับผิดชอบในผลงานที่ผิดพลาด ไม่โยนความผิดให้ผู้อื่น
        ผลที่ได้รับจากการยอมรับผลของการกระทำของตนเอง ทำให้ผู้อื่นให้อภัยในข้อผิดพลาด และผู้ที่ร่วมงานด้วยมีความไว้วางใจ ไม่หวาดระแวง